3 วิธี “ตั้งราคาขายผ่านแอปดิลิเวอรี่”(เคล็ดลับเด็ด)!!!ตั้งราคาให้ขายดี มีกำไร!!!
ก่อนที่เราจะตั้งราคาขายได้เราต้องรู้ก่อนว่าหมูสามชั้น 5 กิโลกรัมต้มตากทอดแล้วเหลือเท่าไหร่ คิดตัวเลขเล่นๆแบบพนักงานใหม่ทำเหลือ 3 กิโลกรัมเราซื้อหมูสามชั้นมากิโลกรัมละ 200 บาทก่อนต้มเป็นเงิน 1,000 บาทพอต้มตากทอดเสร็จได้หมูกรอบปริมาณ 3 กิโลกรัมนั่นหมายถึงเราไม่ได้หมูกรอบ 5 กิโลกรัมเราได้เพียง 3 กิโลกรัมจากหมูสามชั้นกิโลกรัมละ 200 บาทส่วนหมูกรอบที่เราทำได้จะกลายเป็นกิโลกรัมละ 333.33 บาททันที
สูตรหมูกรอบ
1. หมูสามชั้น 5 กิโลกรัม 1,000 บาท
2. น้ำมัน 5 ขวด 300 บาทเหลือเอาไว้ใช้ต่อได้คิดง่ายๆค่าน้ำมัน 60 บาท
3. เกลือ 1 ห่อ 1 บาท
4. น้ำเปล่า 5 ลิตร 5 บาท
5. ผงชูรส 50 กรัม 5 บาท
*รวมต้นทุนไม่รวมแก๊สพนักงานทอดต้นทุนข้าวหมูกรอบ 1071 บาทได้หมู 2.5 กิโลกรัมเท่ากับ 428.4 บาทต่อกิโลกรัมงงเลยใช่ไหมครับจากหมูสามชั้นกิโลกรัมละ 200 บาทแปลงร่างเป็นหมูกรอบราคาขยับขึ้นมากๆ
สูตรกระเพราหมูกรอบ
1. หมูกรอบ 50 กรัม 21.40 บาท
2. 3 ช้อน 45 กรัม 2 บาท
3. กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ 15 กรัม 0.5 บาท
4. น้ำซอส 1 กระบวย 30 ml 2 บาท
5. น้ำซุป 1 กระบวย 30 ml 0.5 บาท
6. ซีอิ๊วดำ 1 ช้อน 10 ml 0.5 บาท
7. ใบกระเพรา 1 หยิบมือ 15 กรัม 1 บาท
8. ข้าวสวย 200กรัม 4 บาท
9. กล่องอาหาร 1 กล่อง 5 บาท
10. ช้อนส้อม 1 บาท
11. พริกน้ำปลา 0.70 บาท
12. ถุงหิ้วไฮโซ 0.5 บาท . .
รวมต้นทุนอาหารประมาณ 40 บาทไม่รวมค่าแก๊สผัด ค่ากุ๊ก
ถ้าเราต้องการขายให้ได้ต้นทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์เราต้องขายจานละ 40 * 100 / 50 เท่ากับ 80 บาทหน้าร้านเราต้องขายกระเพราจานละ 80 บาท
เราได้ต้นทุนของผัดกระเพราหมูกรอบ 100% แล้วได้ราคาขายหน้าร้าน 100% แล้วคือต้นทุน 40 บาทขาย 80 บาท . เราจะตั้งราคาขายในแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เท่าไหร่ดี??
เทคนิคการตั้งราคามี 3 วิธีโดยใช้เหตุผลประกอบการตั้งราคาจากต้นทุนที่จ่ายจริงตามค่าคอมมิชชั่นและความรู้สึกตัวเองล้วนๆในมุมมองเป็นลูกค้า
วิธีที่1 นำราคาขายหน้าร้านที่คิดได้จากต้นทุนจริง + 35% บวก Vat 7% เช่นราคาขายอาหาร 80 บาท+ค่าคอมมิชชั่น28 บาท+ Vat 7% 1.96 บาท ราคาตั้งขายคือ 10 9.96 บาท .
วิธีนี้เราจะได้เงินเข้าร้านจริงๆ 74.66 บาท คิดเป็น 93.33 เปอร์เซ็นต์ หายไป 5.34 บาทคิดเป็น 6.67% ให้เราคิดว่าเป็นค่าเช่าบนแพลตฟอร์ม 6.67 เปอร์เซ็นต์ . วิธีคิดคือเราขายอาหารราคา 10 9.96 -( 32.99+ 2.30) = 74.67 บาทเราจะได้เงินค่าอาหารจริงๆ 7 4.66 บาท คิดเป็น 93.3 3% ของราคาขายหน้าร้าน .
วิธีที่ 2. ราคาขายหน้าร้านที่คิดได้จากต้นทุนจริง+ค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายจริง 30%+ Vat 7% เช่นราคาขายอาหาร 80 บาท + 24 บาท + 1.68 = ราคาตั้งขาย 105.6 8 บาท
วิธีนี้เราจะได้เงินเข้าร้านจริงๆ 71.76 บาท คิดเป็น 89.7เปอร์เซ็นต์ ของราคาขายหน้าร้านหายไป 8.24 บาทคิดเป็น 10.30 เปอร์เซ็นต์ วิธีคิดคือเราขายอาหารราคา 10 5.68-( 31.7+ 2.22)= 71. 77 บาท เราจะได้เงินค่าอาหารจริงๆ 71.76 บาท คิดเป็น 89.75 เปอร์เซ็นต์ของราคาขายหน้าร้าน .
วิธีที่3. ต้นทุนอาหารจริง + ค่าคอมมิชชั่น 20% + Vat 7% เช่นราคาขายอาหาร 80 บาท + 16 บาท + 1.12 บาท = ราคาตั้งขาย 97.12 บาท วิธีนี้เราจะได้เงินเข้าร้านจริงๆ 65.9 7 บาทคิดเป็น 80 2.45 เปอร์เซ็นต์หายไป 14.04 บาทคิดเป็น 17.55 เปอร์เซ็นต์
วิธีคิดคือเราขายอาหารราคา 972 บาท-( 29.1 3+ 2.03)= 65.97 บาท เราจะได้เงินค่าอาหารจริงๆ 65.97 บาท คิดเป็น 82.45 เปอร์เซ็นต์ของราคาขายหน้าร้าน
– – – – – – – – – – – – – – –
สรุป
แนวคิดการตั้งราคาขายผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่
เทคนิค1. เท่ากับ+บวกราคาขายขึ้นมาจากหน้าร้าน 35% ถ้าหากเมนูนี้เราขายได้ขายดีลูกค้าสั่งเยอะไม่รู้สึกว่าแพงไปให้เราเน้นขายเมนูนี้เยอะๆ เพราะเราจะขาดทุนกำไรน้อยที่สุดแต่ถ้าขายได้น้อยหรือขายไม่ได้เลยแนะนำให้ลดค่าคอมลงหรือตัดออกจากเมนูไปเลย
เทคนิค2. เท่ากับบวกราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 30% กลยุทธ์นี้คือวิธีเลือกใช้มากที่สุดเป็นตัวเลขที่เจ็บตัวไม่มากและลูกค้ายอมรับได้กำไรหายไป 10 เปอร์เซ็นต์คิดเสียว่าเป็นค่าดำเนินการของพาทเนอร์เรา
เทคนิค3. เท่ากับ+ ราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 20% ราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 20% วิธีนี้ลูกค้าชอบและให้ผลตอบรับดีมากแนะนำให้ทำเป็นเมนูพิเศษเมนูสร้างกระแสและในยุค Covid แบบนี้อาจจะใช้คำว่าแนะนำให้บวกไปประมาณ 20% คิดเสียว่าเป็นค่าดำเนินการค่าเช่าสถานที่ค่าขนส่งค่าการตลาดกำไรน้อยแต่อาจจะได้ปริมาณลูกค้าเยอะขึ้น
CR. FB : Duangtawan Kesorn
ช่วยกดไลท์ กดแชร์เป็นกำลังใจด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
– – – – – – – – – – – – – – –
#สอนทำอาหาร #สอนตกแต่งอาหาร #สอนขายเดลิเวอรี่ #เชฟแดน #ChefsDan